ข้อมูลพรรณไม้

ที่พบในสวนป่าโรงเรียนหนองบัว

(เฉพาะข้อมูล)

ข้าวเย็นเหนือ แค ทอง ประคำดีควาย ประดู่
ปีบ มะเกลือ มะขามป้อม มะหาด โมกมัน
ยอ เลี่ยน หว้า กระทกรก กระทุ่ม
กระพี้เขาควาย ข่อย ขี้หนอน ขี้อ้าย ไข่เน่า
ยางนา ตะแบกนา อโศก มะค่าแต้ เสลา

 

ข้าวเย็นเหนือ

ชื่อ : ข้าวเย็นเหนือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Smylax peguana
วงศ์ : LILIACEAE
ลักษณะทั่วไป : ข้าวเย็นเหนืออยู่คู่กับข้าวเย็นใต้ เป็นไม้เลื้อยลงหัว ลำต้นมีหนาม ใบคล้ายใบกลอย หัวสีน้ำตาลอ่อน
สรรพคุณ : ใช้หัวแก้เส้นพิการ น้ำเหลืองเสีย กามโรค ฝีเปื่อย พุพอง และต้นแก้อัมพาต

แค

ชื่อ : แค
ชื่ออื่นๆ : แคบ้าน แคขาว แคแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Agrai grandiflora , Sesbania grandiflora
วงศ์: LEGUMINOSAE
ลักษณะทั่วไป : แคเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางเป็นไม้โตเร็วและออกดอกเร็ซ เนื้อไม้แข็ง เปลือกหนาสีน้ำตาล ดอกมีลักษณะ
เหมือนเมล็ดถั่วแปบมีสองสี คือ สีขาวและสีแดง ใบย่อยเป็นใบประกอบขนาดเล็กเรียงขนานกัน ดอก
และยอดอ่ออนใช้เป็นผักปรุงอาหารได้ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนยาว
สรรพคุณ : เปลือกและใบใช้ปรุงยาแก้บิด ท้องร่วง ไข้หัวลม ใบใช้รักษาโรคริดสีดวงจมูกและเป็นยาระบาย

ทอง

ชื่อ : ทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub
ชื่ออื่นๆ : ก๋าว กวาว(ภาคเหนือ) จอมทอง(ใต้) จ้า(เขมร-สุรินทร์) จาน(อุบลราชธานี) ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ(ภาคกลาง) 
ทองต้น(ราชบุรี)
วงศ์ : PAPILIONACEAE
ลักษณะทั่วไป : กวาวเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เปลือกต้นหยาบแตกสะเก็ดสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา
เมื่อสับจะมียางสีแดงสดซึมออกมา น้ำยางนี้รสฝาด ใบเป็นใบย่อยสามใบในก้านหนึ่งคล้ายทองหลางใบมน ใบรูปลิ่ม
ปลายมนหรือหยัก ขึ้นอยู่ตามป่าทุ่งที่ชื้น พบมากทางภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ดอกกวาวต้มรับประทานเป็นผักได้
สรรพคุณ : ใช้ดอกรับประทานเป็นยาถอนพิษไข้ และผสมเป็นยายอดตาแก้ตาเจ็บฝ้าฟาง และเป็นยาขับปัสสาวะ ยางใช้แก้ท้องร่วง
ใบตำพอกฝีและสิว แก้ปวดถอนพิษ แก้ท้องขึ้น ขับพยาธิไส้เดือน 

ประคำดีควาย

ชื่อ : ประคำดีควาย
ชื่ออื่นๆ : มะซัก , ส้มปล่อยเทศ(ภาคเหนือ), ชะแซ, ซะเหล่เด(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , มะคำดีควาย(ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Soap Nut Tree
วงศ์ : SAPINDACEAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร ลักษณะของลำต้น
มีเปลือกสีน้ำตาลอมเทาพื้นผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ เรือนยอดของลำต้นหนาทึบ
ใบ : ใบออกเป็นช่อ เรียงสลับกัน ช่อหนึ่งมีใบย่อยประมาณ 5-9 คู่ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปหอก 
โคนใบสอบเข้าหากัน ส่วนปลายเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.6-1.2 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5-4 นิ้ว 
ใบมีสีเขียวคล้ายๆกับใบทองหลาง
ดอก : ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกตามบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็ก สีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อนๆ
ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ออกรวมกันเป็นพวง ขนาดของผลมีเส้นผ่าศูนญ์กลางประมาณ 0.6 นิ้ว ผลมีสีดำ
ข้างในผลมีเมล็ดเปลือกหุ้มที่แข็ง ผลหนึ่งมี 1 เมล็ดเท่านั้น
สรรพคุณ : เปลือกลำต้น : นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้ฝีอักเสบ แก้ฝีหัวคว่ำ และยาแก้กระษัยเป็นต้น
ใบ : นำมาปรุงใช้เป็นยาแก้พิษกาฬ แก้ทุราวสา
ผล : ใช้ผลที่แห้งนำมาคั่วให้เกรียม จากนั้นใช้ปรุงเป็นยา ดับพิษได้ทุกชนิด แก้กาฬภายใน แก้ไข้ แก้หืด หอบ 
แก้โรคผิวหนัง และแก้เสลดสุมฝีที่เปื่อยพัง
เมล็ด: ใช้เมล็ดสด หรือแห้ง นำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกหรือเอามาละลายน้ำล้างแผล แก้โรคผิวหนัง

ประดู่

ชื่อ : ประดู่
ชื่ออื่นๆ : ประดู่ป่า , ประดู่ไทย, ดู่, ประดู่บ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plerocapus indicus
วงศ์ : PAPILIONACEAE (The Papileon Family)
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 25 เมตร หรืออาจจะกว่านี้ก็ได้ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม
หรือสีดำคล้ำ และจะแตกสะเก็ดออกเป็นร่องตื้นๆ
ใบ : เป็นไม้ที่ออกใบรวมกันเป็นช่อๆ หนึ่งจะมีใบย่อย ประมาณ 7-11 ใบ ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม 
โคนใบมน และริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดยาวประมาณ 1.5-2 นิ้ว ใบมีสีเขียว
ดอก: ออกเป็นช่อ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง หรือโคนก้านใบช่อดอกมีขนาดใหญ่ ดอกมีสีเหลืองแต่ขนาดดอกจะเล็ก
สรรพคุณ : เนื้อไม้ ใช้แก่นเนื้อไม้นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เสมหะ แก้ไข้ แก้โรคคุทราด แก้เลือดกำเดาไหล เป็นต้น
ใบ ใช้ใบอ่อน นำมาตำให้ละเอียดใช้กากพอกแผลที่เป็นฝีทำให้ฝีสุก หรือแห้งเร็ว พอกแผลแก้ผดผื่นคัน
ยางไม้ ในยางมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า Gum Kino นำมาใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย

ปีบ

ชื่อ : ปีบ 
ชื่ออื่นๆ : กาดสะลอง , กาซะลอง (ภาคเหนือ) , ปีบ(ภาคกลาง), เต็กตองโพ่(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis Linn.f.
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 5-25 เมตร ลักษณะของลำต้นผิวเปลือกมีสีเทา พื้นผิวเปลือกขรุขระ
บริเวณกิ่งก้านมีจุด เป็นช่องอากาศ
ใบ ลักษณะของใบเป็นแผง แบบขนนก แผงหนึ่งมีประมาณ 7-9 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก โคนใบมน 
ส่วนปลายใบแหลม ริมใบมีรอยหยัก ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นกลางใบ และต่อมขนได้ชัด ขนาดของใบกว้าง
ประมาณ 0.5-1.2 นิ้ว ยาวประมาณ 1-2.5 นิ้ว
ดอก ออกเป็นช่อ ตั้งตรง มีขนาดยาว ประมาณ 4-16 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอกยาวประมาณ 2-4 มม.
ตรงกลางดอกก็จะมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย ติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อ
สรรพคุณ : ใบ ใช้ใบแห้ง นำมามวนเป็นบุหรี่สูบ 
ดอก ใช้ดอกแห้งนำมามวนสูบ ป็นยาแก้โรคหอบ หืด
ราก ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงปอด รักษาวัณโรคและปอดพิการ

มะเกลือ

ชื่อ : มะเกลือ
ชื่ออื่นๆ : มะเกีย , มะเกือ(พายัพ- ภาคเหนือ), ผีผา (เงี้ยว- ภาคเหนือ) , มักเกลือ , หมักเกลือ , มะเกลือ (ตราด) , เกลือ (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis griff.
วงศ์ : EBENACEAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของลำต้นผิงเปลือก เป็นรอยแตกสะเก็ดเล็กๆ 
มีสีดำ กิ่งก้านอ่อนจะมีขนนุ่มขึ้นประปราย
ใบ : เป็นขนาดเล็ก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือรูปรี ปลายสองแคบเข้าหากัน ส่วนโคนใบกลม หรือมน ผิวเนื้อใบ
บางเกลี้ยง ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด มีประมาณ 10-15 คู่ ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว 
ยาวประมาณ 1.5-3 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 5-10 มม. 
ดอก ออกเป็นช่อ ตามบริเวณง่ามใบ ดอกช่อผู้และช่อเมียจะอยู่ต่างต้นกัน ลักษณะของดอกเพศผู้เป็นดอกขนาดเล็ก 
ช่อหนึ่งมีประมาณ 3 ดอก ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นดอกเดียว ลักษณะของดอกเหมือนกัน คือมีกลีบรอง-
กลีบดอกยาวประมาณ 1-2 มม. โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว
ปลายกลีบดอกแยกออกเป็น 4 แฉก ตรงกลางดอกมีเกสร
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกลม มีขนาดเส้นผ่าศานย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวของผลเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมี
เปลือกสีเขียว แต่แก่หรือสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท ภายในผลมีเมล็ด
สรรพคุณ : ลำต้น นำมาใช้เป็นยาแก้ซานตานขโมย แก้กระษัย ถ่ายพยาธิไส้เดือน เป็นต้น
เปลือกลำต้น ใช้ปรุงยาแก้เบื่ออาหาร ขับเสมหะ แก้ตานซาง แก้โรคกระษัย แก้พิษ และถ่ายพยาธิ เป็นต้น
แก่น (แก่นกลางไม้ เป็นสีดำ) ใช้เป็นยาแก้ลม แก้ฝีในท้อง แก้ซางตานขโมย และแก้กระษัยกล่อน เป็นต้น
ราก ใช้รากสด นำมาฝนกับน้ำซาวข้าวรับประทาน แก้ลม แก้อาเจียน เป็นต้น
ผล ใช้ผลดิบ (สีเขียว) จำนวนเท่ากับอายุของผู้ป่วยแต่ไม่เกิน 25 ผล (ผู้ป่ยที่มีอายุสูงกว่า 25 ปีขึ้นไป ให้ใช้เพียง 25 ผล)
ให้นำมาตำให้ละเอียดแล้วใช้ผสมกับน้ำ หัวกระทิสดรับประทาน เป็นยาถ่ายพยาะไส้เดือน ตัวจืด เส้นด้าย ปากขอ เป็นยา
แก้กระษัยจุก แก้ตานซาง เป็นต้น

มะหาด

ชื่อ : มะหาด
ชื่ออื่นๆ : หาดขนุน (ภาคเหนือ), ปวกหาด(เชียงใหม่), หาด(ภาคกลาง) , หาดใบใหญ่ (ตรัง), ตาแปง , ตาแป , กาแย(มาเลย์-นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lakoocha Roxb.
วงศ์ : MORACEAE
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ป่าเนื้อแข็งขนาดกลาง ลำต้นสูงตรงทรงสวย ใบยาวรีเป็นพุ่มหนา ลูกกลมผิวเรียบเกลี้ยง ผลมีขนาดเล็กว่ามะเขือพวง ผลอ่อนมีลายเป็นสีขาวๆ
เมื่อสุกสีเหลืองส้ม เป็นไมีมีในอินเดีย ศรีลังกา ไทย และแหลมมลายู
สรรพคุณ : ราก ใช้เป็นยาแก้ไอ ขับลม ขับปัสสวาะ เป็นต้น
ผล ใช้ทั้งผลดิบและผลสุก ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้ไอ ลดน้ำตาลในเส้นเลือด และเป็นน้ำกระสายยากวาด
เป็นต้น

มะขามป้อม

ชื่อ : มะขามป้อม
ชื่ออื่นๆ : สันยาส่า , มั่งลู่ (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน) ,กำทวด(ราชบุรี) ,กันโตด( เขมร - จันทบุรี),อิ่ว, อำโมเหล็ก (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica Linn.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 7 เมตร ลักษณะของเปลือกค่อนข้างเรียบเกลี้ยง
ใบ ใบอกเป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงกันเป็น 2 แถว คล้ายขนนก ลักษณะใบย่อย เป็นใบขนาดเล็ก 
ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 5-6 กลีบ กลางดอกมีเกสรตัวผู้สั้นๆ 3-5 อัน ดอกมีสีเหลืองๆเขียวๆก้านดอกสั้น
ผล ผลมีลักษณะกลม เกลี้ยง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซ.ม. มีรอยแยกแบ่งออกเป็น 6 ซีก เนื้อในผลสีเหลือง
สรรพคุณ : เปลือกลำต้น ใช้เปลือกลำต้นที่แห้งแล้ว นำมาบดให้เป็นผลละเอียด ใช้โรยแก้บาดแผลเลือดออก แผลฟกซ้ำ หรือนำมาต้ม
เอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคบิด เป็นต้น
ใบ ใช้ใบสด ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ตัวบวมน้ำ หรือใช้ภายนอก โดยนำเอนใบสดตำให้
ละเอียดใช้พอกหรือทา บริเวณที่เป็นแผลผื่นคัน มีน้ำหนอง น้ำเหลือง ผิงหนังอักเสบ หรือเป็นฝีคัณฑสูตร
ปมที่ก้าน ใช้ปมที่ก้านประมาณ 10-30 อัน นำมาต้มน้ำกินเป็นยาแก้ปวดเมื่อยกระดูก ปวดท้องน้อย ปวดกระเพาะอาหาร 
แก้ซางตานขโมยในเด็ก และแก้ไอ หรือใช้ต้มน้ำอมบ้วนปากแก้ปวดฟัน เป็นต้น
ผล(สดและแห้ง) ใช้ผลสด มีรสเปรี้ยว ฝาด นำมากินเป็นยาบำรุง ทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด กระตุ้นน้ำลาย 
ละลายเสมหะช่วยระบาย ขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้โรคคอตีบ คอแห้ง เป็นต้น หรือใช้ผลสด 
นำมาหมักเป็นไวน์ผลไม้ ใช้ดื่มเป็นยาแก้โรคดีซ่าน

โมกมัน

ชื่อ : โมกมัน
ชื่ออื่นๆ : มูกน้อย (น่าน) , แหน่แก (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia tomentosa Roem.& Schult.
วงศ์: APOCYNACEAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ มีขนาดสูงประมาณ 20 เมตร พื้นผิวเปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล หรือสีเทาอ่อน
เปลือกใบมียางเป็นสีขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปรีป้อม หรือเป็นรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม
ริมขอบเรียบไม่มีรอยหยัก พื้นผิวใบบาง ดอกที่แรกบานจะมีสีขาวอมเหลือง เมื่อบานเต็มที่ จะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
หรือสีแดงม่วง
ผล มีลักษณะเป็นฝัก รูปทรงกระบอก พื้นผิวฝักขรุขระ ฝักที่แก่เต็มที่จะแตกอ้าออกเป็นร่อง ข้างในมีเมล็ด
เป็นรูปยาวประมาณ 12 - 16 มม.
สรรพคุณ : เปลือกลำต้น ใช้เป็นปรุงยาแก้พิษสัตว์กัดต่อย รักษาธาตุให้เป็นปติ ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคไต ฆ่าเชื้อรำมะนาด และคุดทะราด
เป็นต้น
ยางของลำต้น เป็นยาแก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด
เนื้อไม้ ใช้เป็นยาขับโลหิต
ใบ ใช้เป็นยาแก้ท้องมาน และขับน้ำเหลือง เป็นต้น
ดอก ใช้เป็นยาระบาย
ราก ใช้เป็นยาแก้ลม และรักษางูกัด เป็นต้น

ยอ

ชื่อ : ยอ
ชื่ออื่นๆ : มะตาเสือ(ภาคเหนือ) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง) ยอบ้าน (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : -
วงศ์ : -
ลักษณธทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีอยู่ทุกภาคลักษณะลำต้นสีน้ำตาลปนขาว แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มทรงขนาดกลาง
ใบใหญ่คล้ายใบชมพู่สาแหรก กระดูกใบแข็ง เมื่อใบอ่อนจะมีสีเขียวและเป็นมัน ออกดอกเป็นกลุ่มดอกย่อยสีขาว
ขนาดเล็ก ผลสีเขียวอ่อนเมื่อแก่กลิ่นฉุนรสเผ็ด
สรรพคุณ : ใบใช้รับประทานได้ ผลสุกเป็นยาบำรุงธาตุและขับลม ผลดิบเผาไหม้ให้เกรียมแล้วนำไปแช่น้ำ ดื่มแก้อาเจียน ผลดิบเอา
ไปใส่เกลือเล็กน้อย ใช้อมเป็นยาแก้เหงือกบวมเปื่อยเป็นขุม รากเป็นยาระบาย ใบยอสดคั้น เอาแต่น้ำใช้สระผมฆ่าเหา

เลี่ยน

ชื่อ : เลี่ยน
ชื่ออื่นๆ : เฮี่ยน , เคี่ยน , เกรียน(ภาคเหนือ) , โขวหนาย (แต้จิ๋ว) , ขู่เลี่ยน (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melia azedarach Linn.
วงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น เป็นพรรณนไม้ยืนต้น แตกิ่งก้านสาขารอบๆ ต้น ซึ่งมีจำนวนมาก เป็นพรรณไม้ผลัดใบ ลำต้นสูงประมาณ 20 เมตร
ใบ ออกใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งจะมีใบอยู่ประมาณ 3-5 ใบ ช่อใบยาว 8 นิ้ว ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายแหลมโคนใบสอบ
ของใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน ตามเส้นใบจะมีขนอ่อนปกคลุม 
ดอก ออกเป็นช่อ อยู่ตรง่วนยอดของต้นและตามง่ามใบ ดอกมีสีม่วงอ่อน 
ผล เป็นลูกกลมๆโตประมาณ 0.5 นิ้ว เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว พอแก่เป็นสีเหลืองอ่อน ในผลจะแบ่งออกเป็น 4-5 ห้อง 
แต่ละห้องมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด 
สรรพคุณ : ใบ ขับพยาะตัวกลม ขับระดู ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ฝาดสมาน และไล่แมลง
ดอก ฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง
ผล แก้โรคผิวหนัง แผลผุพองที่หัว ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เป็นยาฆ่าเหา ฆ่าแมลง
เปลือกต้น หรือเปลือกราก เราจะนำมาปรุงเป็นยาได้คือ ต้องเก็บในหน้าหนาว และเอาเฉพาะเปลือกชั้นในเท่านั้น 
จะเป็นยาทำให้อาเจียน ขับพยาธิตัวกลม ไล่แมลง

หว้า

ชื่อ : หว้า
ชื่ออื่นๆ : หว้าป่า , หว้าขี้นก , หว้าขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eugenia cumini
วงศ์ : MYRTACEAE
ลักษณะทั่วไป : มีมากทั้งในอินเดีย พม่า ไทย และมาเลเซีย ตลอดจนฟิลิปปินส์ โดยมากหว้ามีลูกเล็กสีม่วงดำ แต่ในบางแห่ง
เช่น ในฟิลิปปินส์มีลูกโตเท่าไข่นกพิราบ
สรรพคุณ : หว้าใช้ทำเป็นยาได้หลายอย่าง คือ กิ่งก้านและใบใช้ต้ม แก้ท้องร่วงและแก้คัน เมล็ดป่นใช้แก้โรคเบาหวานและท้องร่วง
ในอินเดียใช้กิ่งต้มแก้บิดนอกจากนั้นยังใช้น้ำลูกหว้าดิบทำน้ำส้มสายชู และบางแหล่งใช้ลูกหว้าทำเหล้าด้วย

กระทุ่ม

ชื่อ : กระทุ่ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocephalus chinensis (Lark ) A.Rich.exwalp.
ชื่ออื่น ๆ : กระทุ่มบก , ตะกู , ตะโกส้ม
วงศ์ : Rubiaceae
ลักษณะทั่วไป :
- กระทุ่มเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ลำต้นตรงสูง 15 - 30 เมตร เปลือกต้นสีเทาแก่ มีรอยแตกเป็นร่องตามยาว
- ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่
- ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยว ๆ ตามปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ดอกเล็กอัดกันแน่น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบสีขาว
- ผล เป็นผลรวม อุ้มน้ำ
สรรพคุณ : 
- เปลือกและใบสามารถลดความดันโลหิตได้
- เปลือกใช้ต้มกินแก้ไข้ แก้ปวดมดลูก แก้โรคลำไส้ และอมกลั้วคอ
- แก้อาการอักเสบของเยื่อเมือกในปาก ผลใช้เป็นยาฝาดสมานโรคท้องร่วง

กระทกรก

ชื่อ : กระทกรก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Olax Scandens ,Roxb.
ชื่ออื่น ๆ : อังนก , น้ำใจใคร่ , อีทก , นางจุม
วงศ์ : OLACACEAE
ลักษณะทั่วไป :
- ต้น เป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นเป็นเถา ลักษณะลำเถามีหนามขึ้นห่าง ๆ เนื้อไม้สีขาว
- ใบมีลักษณะปลายใบเรียวแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัด เนื้อใบบาง ลักษณะของใบคล้ายใบมะยม แต่มีขนาดใหญ่กว่า ใบออกดอกทึบ
- ดอก ออกเป็นกระจุกตามบริเวณง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว
- ผล มีลักษณะรี หรือกลม มีขนาดเท่ากับเมล็ดบัว
สรรพคุณ : 
- เนื้อไม้ มีรสชาดฝาดเฝื่อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิด ใช้รักษาบาดแผล
- เปลือก นำมาต้มรมแผลที่เน่าเปื่อย ทำให้แผลแห้ง
- เมล็ด ใช้ทาท้องเด็ก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ผายลม วิธีใช้โดยการตำเมล็ดให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำสับปะรดทำให้อุ่นแล้วใช้ทาท้องเด็ก
- ราก ใช้ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้กามโรค
- ใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อ ขับพยาธิหรือใช้ตำให้ละเอียด เอากากคุมศีรษะ แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้หวัด

กระพี้เขาควาย

ชื่อ : กระพี้เขาควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cultrata Grah.ex Berth.
ชื่ออื่น ๆ : กระพี้ ( กลาง ) , กำพี้ ( เพชรบูรณ์ ) , เก็ดเขาควาย ( เหนือ ) , อีเม็งใบมน ( อุดรธานี )
วงศ์ : Leguminosae - papilionoideae
ลักษณะ : 
- กระพี้เขาควายเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูงประมาณ 15 - 25 เมตร
- เปลือกสีเทานวล เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดตื้น ๆ กิ่งอ่อนมีขน ใบประกอบแบบขนนก ปลายคลี่เรียงสลับยาว 9 - 18 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่กลับ
- ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบใกล้ยอด มีดอกดกดูคล้ายเป็นกระจุก ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงเล็ก ติดกันคล้ายรูปถ้วยตื้น ๆ 
- กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมชมพู เกสรตัวผู้ 9 อัน 
- ผักแบนรูปคล้ายกระสวย ฝักตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย
- เมล็ดสีน้ำตาล คล้ายรูปไต
ประโยชน์ :
- ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก ทำเครื่องดนตรีไทย

ข่อย

ชื่อ : ข่อย
ชื่ออื่นๆ: กักไม้ฝอย(ภาคเหนือ), ส้มพล(จังหวัดเลย), ข่อย,สัมพ่อ ส้มฝ่อ(หนองคยภาคเหนือ),
ขรอย, ขันตา , ขอย(ภาคใต้)
วงศ์: MORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์: Steblus asper Lour.
ลักษณะทั่วไป: ต้น: เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ใบ : จะเล็กหนาแข็ง ถ้าจับดูทั้ง 2 ด้านจะสากคายคล้ายกับกระดาษทราย 
ขอบใบจะหยักแบบซี่ฟัน
ดอก:ดอกตัวผู้จะรวมกันเป็นช่อดอก แบบหัวกลม และมีก้านดอกที่สั้น 
มีสีเหลืองอมเขียวหรือเกือบจะขาว ส่วนดอกตัวเมียนั้นก้านดอกจะยาว
และมักจะออกเป็นคู่สีเขียว
เกสร:เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจะอยู่ต่างดอกกัน
เมล็ด(ผล) :เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน เปลือชั้นนอกจะนิ่มและฉ่ำน้ำ ส่วนเมล็ดนั้น
นั้นมีลักษณะเกือบกลมคล้ายเม็ดพริกไท
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ใบ เปลือก และราก
สรรพคุณ : เมล็ด ใช้รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ เจริญอาหาร ขับผายลม บำรุงธาตุ
รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ใบ จะมีลักษณะสากใช้ขัดเครื่องครัว ใช้ถูเมือกปลาไหล นอกจากนี้ใบยัง
นำมาคั่ว ชงน้ำดื่มก่อนที่จะมีประจำเดือน สำหรับสตรีที่มีอาการปวดท้อง
ขณะมีประจำเดือน ใช้บรรเทาอาการปวดได้ หรือใช้ชงน้ำดื่มแทนน้ำชาได้
เปลือก มีรสเบาเบื่อดับพิษในกระดูกและในเส้น รักษาพยาธิผิวหนัง 
เช่น ริดสีดวงหรือใช้ต้มใส่เกลือให้เค็มเป็นยาอม รักษารำมะนาด นอกจากนี้
เปลือกข่อยทำกระดาษและทราบว่าปลวกจะไม่กินกระดาษข่อย ใช้มวนสูบ
รักษาริดสีดวงจมูก
ราก ในเปลือกรากมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงหัวใจมากกว่า 30 ชนิด 

ขี้หนอน

ชื่อ : ขี้หนอน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Zollingeria dongnaiensis Pierre
ชื่ออื่นๆ: ขี้มอด (ขอนแก่น ,นครราชสีมา)
วงศ์ : -
ลักษณะ : ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่และมีหนามยาวๆอยู่ประปราย ตามลำต้น
หรือกิ่งไม้
ใบ : จะเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายผักหวาน
ดอก : ดอกนั้นจะดกมาก และจะมีขนาดเล็ก มีพิษกินเข้าไปทำให้ตายได้
ผล : เมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลือง
สรรพคุณ : เปลือกใช้สับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่น้ำตีให้เป็นฟองแล้วใช้ฟอกนั้นสุมหัวเด็ก ใช้รักษาอาการ
หวัดคัดจมูก ฟอกที่ได้มาจากเปลือกนั้น ยังสามารถนำมาล้างเครื่องเพชรได้ เช่น มะคำดีควาย

ไข่เน่า

ชื่อ : ไข่เน่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex glabrata R.Br.
ชื่ออื่นๆ : คมขวาน, ฝรั่งโคก(กลาง), ขี้เห็น(อุบลราชธานี-เลย),ปลู(เขมร-สุรินทร์)
วงศ์ : -
ลักษณะ : ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ ลำต้นนั้นมีความสูงประมาณ
10-12 เมตร ลำนจะเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงขาวๆ
ใบ เป็นใบประกอบ มีขนาดไม่เท่ากัน ตรงโคนใบจะเรียวเล็กปลายของมันจะกว้างและมน
ยาวประมาณ 6 ซ.ม ถึง 33 ซ.ม ใบจะมีสีเขียว คล้ายใบงิ้ว
ดอก อยู่ติดกันเป็นช่อยาวๆดอกนั้นจะเป็นดอกเล็กๆมีสีม่วงอมชมพู สีขาวมีแดงเรื่อๆดอกจะมี
กลิ่นหอม และจะมีดอกใกล้ย่างข้าหน้าฝน
เมล็ด(ผล) ผลอ่อนที่ยังไม่สุกจะมีสีเขียว และแข็ง ผลที่สุกแก่เต็มที่นั้นสีจะเปลี่ยนเป็นสีดำเทาอ่อน
นุ่มนิ่ม ผิวจะมัน ผลโตประมาณ 1-1.5 ซ.ม และมีรสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นจะเหม็นผลนั้น
จะแก่ในหน้าฝน ส่วนเมล็ดโตขนาดเท่ากับปลายนิ้วก้อย 
สรรพคุณ : เปลือกต้น ใช้รักษาพิษตานวาน ตานขโมย ราก ขับไส้เดือน รักษาท้องร่วง เจริญอาหาร
เปลือกต้นนั้นจะมีสารจำพวก steroid มีชื่อว่า -stiosterol และ ecdysterone 
และ anguside
ผล เมื่อสุกใช้รับประทานกับเกลือ สามารถรักษาโรคเบาหวาน

ขี้อ้าย

ชื่อ : ขี้อ้าย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia triptera Stapf
ชื่ออื่นๆ : กำจาย(เชี่ยงใหม่), พระเจ้าหามก๋าย,พระเจ้าหอมก๋าย,ปู่เจ้าหอมก๋าย,ปู่เจ้า,คำเจ้า,สลิง,
หามก๋าย(ภาคเหนือ),กำจำ(ภาคใต้),หานกราย(ราชบุรี),ตานแดง(ประจวบคีรีขันธ์,
สุราษฎร์ธานี,สงขลา) เป็น(สุโขทัย) ,ประดู่ขาว(ชุมพร),แนอาม(ชอง-จันทบุรี),
แฟบ(ประจวบคีรีขันธ์),มะขามกราย,หามกราย, หนามกราย(ชลบุรี),แสนคำ
,แสงคำ, สีเสียดต้น(เลย), หอมกราย(จันทบุรี),หนองมึงโจ่(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
วงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะ : ต้น : เป็นพรรณไม้ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 3-10 เมตร
ส่วนที่โคนต้นมีพูพอนขนาดเล็ก มักจะมีกิ่งย่อยรอบๆลำต้นทางด้านล่าง และจะร่วง
โรยไปเมื่อแก่ เปลือกจะเรียบ มีสีน้ำตาล และมีรอยแตกตามความยาวตื้น
ใบ : จะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว และเรียงสลับกันหรือตรงข้ามกัน จะเป็นรูปไข่ มีความกว้าง
ประมาณ 3-6 ซ.ม. ยาวประมาณ 6-10 ซ.ม. ขนเลี้ยง เนื้อใบบางคล้ายกระดาษและ
ปลายใบของมันจะแหลม โคนใบจะสอบและแคบหรือกลม จะมีต่อมอยู่ 1 คู่ ที่ขอบใบ
ใกล้ๆโคนใบก้าน จะเล็กเรียวและยาวประมาณ 0.5-1.2 ซ.ม 
เกสร : เกสรตัวผู้นั้นจะมีอยู่ 10 อัน และจะมีก้านเกสรตัวผู้ยาวราวๆ 3 ม.ม ส่วนรังไข่นั้นจะ
มีอยู่ 1 ช่อง ท่อเกสรตัวเมียจะยาว 2.5 ม.ม
ผล : เป็นรูปขอบขนาน หรือบิดเบี้ยว และกว้าง 1.0-1.5 ซ.ม ยาวประมาณ 1.5-2.5 ซ.ม 
มีปีก 3 ปีกเกลี้ยง
เปลือก : จะมีรสฝาด
สรรพคุณ : ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และบำรุงหัวใจ รักษาโรคบิด ท้องร่วง ใช้รักษาภายนอก โดยการนำ
มาชะล้างบาดแผลเรื้อรัง และห้ามโลหิต

กระโดน

ชื่อ : กระโดน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Careya sphaerica Roxb
ชื่ออื่นๆ : ปุยกระโดน(ใต้), ปุย(เหนือ-ใต้),ปุยขาว พุย(ละว้า-เชียงใหม่), ขุย(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
เส่เจ๊อะบะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หูกวาง(จันทบุรี), กะนอน(เขมร)
วงศ์ : BARRINGTONIACEAE
ลักษณะ : ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร มีกิ่งก้านสาขามาก
ใบ : ใบจะออกเรียงสลับกันเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะปลายใบเป็นรูปไข่กลับ 
ขนาดของใบมีความกว้างประมาณ 6 นิ้ว ยาวประมาณ 12 นิ้ว ก้านยาวประมาณ 0.5-1 นิ้ว
ดอก : ดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งยาวประมาณ 3-8 นิ้ว ลักษณะของดอก มีกลีบดอกและกลีบรองกลีบ
ดอกอย่างละ 4 กลีบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบยาวประมาณ 1.5 นิ้ว กลีบรองกลีบดอกยาว
ประมาณ 1 นิ้ว โคนกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็น
เส้นฝอย สีแดง ยาวประมาณ 2 นิ้ว จะเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆจำนวนมาก
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลม มีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 2.5 นิ้ว ภายในผลมีเมล็ดเป็น
จำนวนมาก
สรรพคุณ : เปลือกและผล ใช้เป็นยาฝาดสมาน
ใบ มีสาร tannin 19% ซึ่งมีรสฝาด ใช้ปรุงเป็นน้ำมันสมานแผลหรือใช้ผสมกับเครื่องยาอื่นๆ
ดอก และน้ำจากเปลือกสด ใช้ผสมกับน้ำผึ้งใช้ทานเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ
และเป็นยาบำรุงสำหรับสตรีหลังจากคลอดลูกแล้ว
ผล เป็นยาในการช่วยย่อยอาหาร
เมล็ด เป็นยาแก้พิษ
ราก เปลือก และใบ ใช้เป็นยาเบื่อปลา

ยางนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Dipterocarpus alatus Roxb.
ชื่อวงศ์ :DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ :+++
ชื่ออื่น ๆ :กาตีล ขะยาง จะเตียล จ้อง ชันนา ทองหลัก ยาง ยางกุง ยางขาว ยางควาย ยางใต้ ยางเนิน ยางแม่น้ำ ยางหยวกเยียง ร่าลอย เห่ง ยางตัง 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
ยางนาเป็นเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงถึง 40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาปนขาว โคนต้นมักมีพู่พอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีแผลใบเห็นชัดเจน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ติดเรียงเวียนสลับ ทรงใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 8-15 เวนติเมตร ยาว 20-35 เซนติเมตร โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ ๆ เนื้อใบหนา ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย
ดอก : สีชมพุออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบตอนปลาย กิ่ง ช่อหนึ่งมีหลายดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนปลายถ้วยแยกเป็น 5 แฉก ยาว 2 แฉก และสั้น ๆ สีน้ำตาลปกคลุม กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบชิดกัน ส่วนปลายจะบิดเวียน
ผล : เป็นผลชนิดแห้ง รูปกระสวย มีครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีกยาว 2 ปีก ขนาด 10-12 เซนติเมตร เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น
การขยายพันธุ์ และการดูแลรักษา
+++
ประโยชน์ 
เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป น้ำมันและชัน ใช้ทาไม้ และทำไต้
ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยา
พบขึ้นเป็นกลุ่ม ตามที่ราบริมห้วยในป่าพื้นล่างทั่วไปที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-400 เมตร
ช่วงการออกดอก
+++ 

มะค่าแต้

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.
ชื่อวงศ์ :CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ :+++
ชื่ออื่น ๆ :แต้ มะค่าหนาม มะค่าหยุม 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
ไม้ต้นผลัดใบ สูง 10-15 เมตร
ใบ : เป็นใบประกอบ ใบย่อยมี 3-4 คู่ แกนช่อใบยาว 2-4 เซนติเมตร แผ่นใบหนา รูปไข่กว้าง ขนาดกว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร
ดอก : สีเหลืองแกมแดง ออกเป็นช่อ ยาว 10-25 เซนติเมตร ทุกส่วนมีขนสีน้ำตาล ก้านดอกย่อย ยาว 0.2-0.4 เซนติเมตร กลีบรองดอกรูปไข่กว้าง ปลายกลีบมีหนามขนาดเล็ก กลีบดอกยาว 0.7 เซนติเมตร เกสรผู้มี 10 อัน มี 2 อันที่ใหญ่กว่าอันอื่น
ผล : เป็นฝักเดี่ยวสีดำ มีหนามแหลมที่ผิวทั่วไป รูปไข่กว้าง โคนเบี้ยวและมักมีติ่งแหลม ขนาดผ่านศูนย์กลาง 4.5-10 เซนติเมตร ภายในมี 1-3 เมล็ด
การขยายพันธุ์ และการดูแลรักษา
+++
ประโยชน์ 
เนื้อไม้ แข็ง ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี แต่ขนาดจะใหญ่มาก
ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยา
จากภูมิภาคอินโดจีนถึงมาเลเซีย ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และป่าชายหาด ที่ระดับใกล้น้ำทะเล จนถึงระดับ 400 เมตร
ช่วงการออกดอก
+++ 

 ตะแบก

  ชื่อวิทยาศาสตร์ :Lagerstroemia floribunda Jack.
ชื่อวงศ์ :LYTHRACEAE
ชื่อสามัญ :+++
ชื่ออื่น ๆ :กระแบก (สงขลา) ตะแบกไข่ (ราชบุรี ตราด) บางอตะมะกอ (มาเลย์-ยะลา-ปัตตานี) บางอมายู (มาเลย์-นราธิวาส) เปื๋อยนา (ลำปาง) เปื๋อยหางค่า (แพร่) 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกเรียบเป็นมัน สีเทาหรือเทาอ่อน มีรอยแผลเป็นดวงตลอดทั้งต้น
ใบ : ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร ปลายมน มีติ่งแหลมเล็กโคนมน ขอบใบม้วนขึ้น ใบอ่อนสีออกแดง
ดอก : สีม่วงอมชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกตูม รูปทรงคล้ายลูกข่าง มีจุกสั้นๆอยู่ที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงมีสันนูนพาดตามยาว กลีบดอก 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้นๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-3.6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จำนวนมาก
ผล : รูปไข่ กว้าง 0.8-1 เซนติเมตร ยาว 1.3-1.7 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้
การขยายพันธุ์ และการดูแลรักษา
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ 
์ราก ต้ม เป็นยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเมื่อมีไข้ เปลือก ชงดื่มแก้ท้องร่วง แก้ถูกยาพิษ ไม้ ใช้ก่อสร้าง
ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยา
ขึ้นในที่ชุ่มชื้น
ช่วงการออกดอก
กรกฎาคม – กันยายน 

เสลา

  ชื่อวิทยาศาสตร์ :Lagerstroemia loudonii Teijsm . & Binn.
ชื่อวงศ์ :LYTHRACEAE
ชื่อสามัญ :+++
ชื่ออื่น ๆ :เกรียบ ตะเกรียบ ตะแบกขน เสลาใบใหญ่ อินทรชิต 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
เสลาเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10-20 เซนติเมตร เรือนยอดกลม ทึบ กิ่ง โน้มลงรอบทรงพุ่ม เปลือกสีเทาดำ มีรอยแตกเป็นทางยาวตลอดลำต้น
ใบ : ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 16-24 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมเป็นติ่งโคนมน เนื้อใบหนาปานกลาง เส้นใบมีขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน
ดอก : สีม่วง ม่วงอมชมพู หรือม่วงกับขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งกลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5-8 แฉก กลีบดอกส่วนใหญ่มี 6 กลีบ รูปกลม บาง ยับย่น ขอบย้วย โคนคอดเป็นก้านสั้นๆ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จำนวนมาก
ผล : รูปเกือบกลม ผิวแข็ง ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผล แห้งแตกตามยาว 5-6 พู เมล็ด จำนวนมาก มีปีก
การขยายพันธุ์ และการดูแลรักษา
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ 
ไม้ทำเครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือ ฯลฯ
ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยา
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าชายหาด พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางลงไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ช่วงการออกดอก
เดือนธันวาคม – เดือนมีนาคม 

 อโศก

  ชื่อวิทยาศาสตร์ :Saraca indica L.
ชื่อวงศ์ :CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ :+++
ชื่ออื่น ๆ :กะแปะห์ (มลายู-ปัตตานี) ชุมแสงน้ำ (ยะลา) ตะโดลีเต๊าะ (มลายู – ปัตตานี) อโศกน้ำ (กรุงเทพฯ) 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เซนติเมตร เปลือกลำต้นสีดำ เนื้อไม้แข็งและเหนียวมาก ทรงพุ่มกลมทึบ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก มี 2-7 คู่ ใบย่อยรูปไข่แกมขนาน กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 10-18 เซนติเมตร ปลายใบมน ผิวใบเกลี้ยง หนา
ดอก : ช่อดอกสีเหลืองอมส้ม ออกที่ปลายกิ่งหรือลำต้นและปลายกิ่ง ช่อดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-15 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ไม่มีกลีบดอก มีเกสรตัวผู้โผล่ยาว 4-8 อัน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ทยอยบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอม ดอกที่ใกล้โรยจะมีสีแดงคล้ำ
ผล : รูปขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 10-25 เซนติเมตร 
การขยายพันธุ์ และการดูแลรักษา
ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ช้ามาก ชอบแสงแดดและดินชื้นจัด ต้นที่ปลูกกลางแจ้งและได้รับการจัดแต่งทรงพุ่ม จะมีทรงพุ่มกลมสวยงาม เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา ปลูกยึดดินริมธาร ริมบ่อน้ำ มีความทนทานดีมาก
ประโยชน์ 
ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ไม้ยึดริมบ่อน้ำ และเป็นไม้ประดับ มีดอกหอม ดอกใช้ปรุงเป็นอาหารรับ-ประทานได้
ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยา
+++
ช่วงการออกดอก
ดอกบานในช่วงเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์