คูน

ชื่อ : คูน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia fistulla Linn.
ชื่ออื่นๆ : ลมแล้ง (ภาคเหนือ) ,ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์(ภาคกลาง),ลักเคย,ลักเกลือ(ปัตตานี),
กึเพยะ(กะเหรียง),ปูโย,ปีอยู,เปอโซ,แมะหล่ายู(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),เช็งเซียซัวเพียงเต่า,
อาเหล็กปก(จีน)
วงศ์ : CAESALPINIACEAE
ลักษณะ : ต้น คูนเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 15 เมตร
ใบ เป็นใบประกอบ ตรงปลายก้านของมันจะเป็นใบคู่ ใบย่อยมี 4-8 คู่
ดอก จะออกเป็นช่อย้อยระย้าลงมาจากง่ามใบ ดอกจะมีสีเหลืองปลายมน มีเส้น
ผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 ซ.ม
เกสร เกสรตัวผู้มีอยู่ประมาณ 10 อัน มีความยาวไม่เท่ากัน
เมล็ด(ผล) ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปทรงกระบอกยาว ตรงปลายจะแหลมและสั้น เมื่อยังอ่อนจะมี
สีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ จับดูเปลือกนอกจะแข็งเหมือนไม้
สรรพคุณ : ฝัก ควรเก็บเมื่อแก่มีสีดำ นำมาตากให้แห้งเก็บไว้ใช้ ต้มกับน้ำกิน ใช้เป็นยาระบาย