สมอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Terminalia chebula Retz. var. chebula
ชื่อวงศ์ :COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ :Myrobalan Tree, Ink Nut Tree
ชื่ออื่น ๆ :ม่าแน่ สมออัพยา หมากแน่ะ 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
สมอไทยเป็นไม้ต้น สูง 10-20 เซนติเมตร เปลือกหยาบ ยอดอ่อนและใบอ่อน มีขนสีน้ำตาล
ใบ : ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่กว้าง หรือ รูปไข่แกมรูปรี กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนแหลม มนหรือเว้าตื้นๆ ที่ก้านใกล้โคนใบ มีตุ่ม 2 ตุ่ม
ดอก : สีเหลืองอมเขียว มีกลิ่น ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3-0.4 เซนติเมตร ไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้ 1 0 อัน
ผล : รูปรีค่อนข้างกลม กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-4 เซนติเมตร มักเป็นพูตื้นๆ 5 พูเมื่อแห้งสีดำ ผิวย่น

การขยายพันธุ์ และการดูแลรักษา
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ 
เปลือก และผล มีสาร pyrogallol ให้สีดำ ใช้ย้อมผ้า แห อวน ทำน้ำหมึก ไม้ ใช้ก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน เครื่องมือเกษตรกรรม ผล ผลอ่อนเป็นยาระบาย ผลแก่ ฝาดสมานเป็นยาแก้ท้องเดิน แก้ไข้ เสมหะเป็นพิษ บิด ดีพิการ ช่วยให้นอนหลับ
ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิด เอเชียตอนใต้ ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และขึ้นกระจัดกระจายในป่าสักที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1000 เมตร
ช่วงการออกดอก
เดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม