โครงการค่ายเยาวชนสำรวจพันธุกรรมพืชโรงเรียนหนองบัว

ประเภทของโครงการ      โครงการใหม่

แผนงาน

สนองนโยบาย                 ยุทธศาสตร์ข้อที่  3  การปฏิรูปการเรียนรู้

                                  ยุทธศาสตร์ข้อที่  7  การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา

หลักการเหตุผล

โรงเรียนหนองบัวมีพันธุ์ไม้จำนวนมาก  ประกอบกับมีป่าเบญจพรรณขนาดใหญ่ ที่มีสัตว์หลากหลายชนิดอาศัยอยู่  ระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์  ควรที่จะอนุรักษ์รักษาไว้ให้คงอยู่สืบไป  ดังนั้น ทางโรงเรียนจึงได้จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้กับนักเรียน  ครู-อาจารย์  ตลอดจนชุมชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น

วัตถุประสงค์

1.     เพื่อร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

2.     เพื่อให้นกเรียน  เยาวชน ได้รู้จักคุณประโยชน์ของต้นไม้ในโรงเรียน  ตลอดจนเป็นแหล่ง     ข้อมูลพืชพรรณ  และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการศึกษาค้นคว้าต่อไป

3.     เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้ในโรงเรียน  เกิดความรัก  ความหวงแหน ที่จะดูแลรักษาให้คงอยู่ตลอดไป

3.  เป้าหมาย

     3.1  ด้านปริมาณ

-       นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  จำนวน  90  คน

-       ครู – อาจารย์  จำนวน   54  คน

-       วิทยากร                         9  คน

     3.2  ด้านคุณภาพ

ครู – อาจารย์  นักเรียน  ตลอดจนผู้ปกครอง  ได้รับความรู้เรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  ซึ่งจะนำไปสู่การมีจิตสำนึก  ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม        นำไปใช้ประโยชน์ต่อตนเอง   ครอบครัวและสังคมสืบไป

4.  วิธีดำเนินการ

     4.1  เสนอโครงการขอความเห็นชอบต่อฝ่ายบริหาร

     4.2  กำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินกิจกรรม

     4.3  ประสานงานกับหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  วิทยากรท้องถิ่น

     4.4  รวบรวมรายชื่อนักเรียนชั้น ม. 4  มาดำเนินการเข้าค่าย

4.5    ดำเนินกิจกรรมการเข้าค่ายสำรวจพันธุกรรมพืชในโรงเรียน

4.6    ประเมินผลสัมฤทธิ์และประมวลผลการดำเนินการสรุปรายงานต่อผู้บริหารโรงเรียนต่อไป

5.  สถานที่ดำเนินการ

     -  โรงเรียนหนองบัว

6.  งบประมาณ

     

7.  ระยะเวลาดำเนินการ

     7.1  ระยะเตรียมการ  เดือนตุลาคม  2545 - พฤศจิกายน   2545

     7.2  ระยะดำเนินกิจกรรมเข้าค่าย   1  ธันวาคม   2545

     7.3  ระยะประเมินโครงการ  สรุปและรายงาน   5 - 10  ธันวาคม  2545

8.  ผู้รับผิดชอบโครงการ

8.1    โรงเรียนหนองบัว

8.2    คณะกรรมการดำเนินการ

9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     9.1  เกิดความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  ครู  นักเรียน  ผู้ปกครอง  ในการ

            อนุรักษ์พันธุกรรมพืชในท้องถิ่น

9.2    เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษา  ค้นคว้า หาความรู้พันธุกรรมพืชได้เป็นอย่างดี

9.3    นักเรียนมีจิตสำนึก  ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

     9.4  เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

 

 

        ลงชื่อ                                       ผู้เสนอโครงการ

( นายประทวน     บุญจิตร )

         

       ลงชื่อ                                         ผู้เห็นชอบโครงการ

  (                                        )

     

     ลงชื่อ                                        ผู้อนุมัติโครงการ

                                            ( นายโสภณ     สารธรรม )

ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองบัว