ชื่อโครงการ                          เก็บรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ในโรงเรียนหนองบัว ในรูปแบบเอกสาร HTML

ผู้รับผิดชอบ                         นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ลักษณะโครงการ                 โครงการส่งเสริมหลักสูตร

ระยะเวลาดำเนินการ         17   มกราคม  2546 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2546

 

 


1.       หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยจากการที่บุคคลทั่วไปไม่ทราบถึงชื่อพรรณไม้ ลักษณะเฉพาะของพรรณไม้ รวมทั้งประโยชน์ของพรรณไม้ในด้านต่าง ๆ ทำให้พรรณไม้ต่างสาบสูญไปเป็นจำนวนมาก

ดังนั้นทางคณะนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพโรงเรียนหนองบัวจึงเล็งเห็นความสำคัญของพรรณไม้ต่าง ๆ ว่าน่าจะจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่เป็นแหล่งในการรวบรวมชื่อของพรรณไม้ ลักษณะพรรณไม้ รวมทั้งประโยชน์ในด้านต่าง ๆ โดยจะเน้นการนำพรรณไม้ในสวนป่าในโรงเรียนหนองบัว เพื่อให้ทางโรงเรียนหนองบัวสามารถใช้สวนป่าของโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อสนองต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ของโรงเรียนได้

ทางคณะผู้จัดทำหวังว่าโครงการนี้จักเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ ครู อาจารย์ นักเรียน และบุคคลทั่วไปได้เป็นอย่างดี

 

2.       วัตถุประสงค์

1.       เพื่อเป็นการรวบรวมชื่อพรรณไม้ ลักษณะพรรณไม้ รวมทั้งประโยชน์ของพรรณไม้

2.       เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าที่สำคัญเกี่ยวกับพรรณไม้ในโรงเรียนหนองบัว

3.       เพื่อให้บุคคลทั่วไปทราบถึงแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับพรรณไม้ที่หายาก ในโรงเรียนหนองบัว

 

3.       เป้าหมายของโครงการ

1.       เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าที่สำคัญด้านพรรณไม้ต่าง ๆ

2.       เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ที่ใช้งานง่ายต่อนักเรียน ผู้ที่สอน และบุคคลทั่วไป

3.       เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่สนับสนุนให้โรงเรียนใช้แหล่งความรู้ในท้องถิ่นของโรงเรียนเอง

 

4.       การดำเนินงาน

1.       ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์

2.       ขออนุมัติโครงการ

3.       จัดทำงบประมาณ ในการดำเนินงาน

4.       เก็บรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ ภาพประกอบ และประโยชน์ของพรรณไม้

5.       ดำเนินการสร้างสื่อการเรียนรู้

6.       ทดลองใช้งานและนำเสนอต่อไป

5.       ทรัพยากรที่ใช้

5.1) บุคลากร

 

 

 

อาจารย์ที่ปรึกษา

จำนวน

3

คน

วิทยากร

จำนวน

1

คน

นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

จำนวน

5

คน

 

5.2) งบประมาณ

1)      ค่าแผ่น CD-R ยี่ห้อ Princo จำนวน 5 แผ่น แผ่นละ 10 บาท

 

 

รวม

 

50

 

บาท

 

2)      กล่องใส่แผ่นซีดีจำนวน 5 กล่อง กล่องละ 8 บาท

 

รวม

 

40

 

บาท

 

3)      วัสดุสิ้นเปลืองกระดาษ A4, กาว, ปากกาเมจิก ฯลฯ

                         

รวม

110

 

บาท

 

                          รวมงบประมาณทั้งสิ้น

 

200

บาท

               

                                               

                                               

 

6.       การติดตามผล             

ตัวชี้สภาพความสำเร็จ

วิธีติดตามประเมิน

เครื่องมือที่ใช้

1.       นักเรียนสามารถใช้สื่อการเรียนรู้นี้ได้

2.       บุคคลทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพรรณไม้ดีขึ้น

สังเกต- สอบถาม

 

สังเกต – สอบถาม

 

แบบสอบถาม

 

แบบสอบถาม

 

7.       ผลคาดว่าจะได้รับ

1.       บุคคลทั่วไป และนักเรียนสามารถรู้จักพรรณไม้ต่าง ๆ ได้มากขึ้น

2.       พรรณไม้ต่าง ๆ ได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่

3.       สวนป่าของโรงเรียนหนองบัวได้รับการเยี่ยมชมจากบุคคลทั่วไปที่สนใจ